คุ้มหรือไม่? ถ้าเครนเสียต้องหยุดการผลิต เสียเวลาและค่าใช้จ่ายผลิตไม่ทัน
จะดีหรือ? ใช้เครนไม่ซ่อมบำรุงจนเกิดอุบัติเหตุบาดเจ็บ เสียชีวิต งานเสียหาย
เครนเป็นส่วนหนึ่งในกระบวนการผลิตของหลายอุตสาหกรรมที่มีความสำคัญไม่น้อยกว่าเครื่องจักร เมื่อเครนชำรุดเสียหายหรือมีเหตุต้องหยุดใช้งานย่อมส่งผลกระทบต่อเนื่องหลายทอด วิธีแนวทางที่จะช่วยลดความเสี่ยงและป้องกันไม่ให้รอกหรือเครนหยุดทำงานกะทันหันคือ การซ่อมบำรุงเครนเชิงป้องกัน (Preventive Maintenance)ที่จะกำหนดแผนตามระยะเวลาที่แน่นอนด้วยวิธีการตรวจสอบสภาพ วัดค่า ทดสอบความผิดปกติเพื่อการซ่อมบำรุงอย่างถูกต้องไม่ให้เครนเกิดความขัดข้องที่ทำให้เครนหยุดหรือเกิดอุบัติเหตุที่ไม่คุ้มค่าต่อการสูญเสียเวลาซ่อม ค่าใช้จ่ายสำหรับอะไหล่ ทรัพย์สินที่เสียหายสืบเนื่องจากอุบัติเหตุ ตลอดจนการสูญเสียโอกาสทางการผลิต ดังนั้น การซ่อมบำรุงเครนเชิงป้องกันจึงจะช่วยรักษาประสิทธิภาพและสมรรถนะการทำงานของรอกและเครนให้สามารถปฏิบัติงานได้อย่างมีเสถียร ภาพ นอกจากนี้การซ่อมบำรุงเชิงป้องกันยังช่วยชะลอความเสื่อมสภาพของอุปกรณ์ให้มีอายุการใช้งานได้ยาวนานขึ้นและสร้างความคุ้มค่าให้ผู้ใช้เครนในระยะยาว
รายการตรวจสอบและซ่อมบำรุงเชิงป้องกัน (Preventive Maintenance) มีดังนี้
- วางแผนตารางการปฏิบัติงานให้ตรงตามเงื่อนไขของลูกค้า
- เข้าปฏิบัติงานตามแผนที่วางเอาไว้
- เตรียมเอกสาร Check List ของลูกค้าแต่ละรายที่จะเข้าปฏิบัติงาน
- ตรวจสอบสภาพและซ่อมบำรุงตามโปรแกรมที่กำหนดใน Check List ได้แก่
- 2.1 Monitoring คือ การตรวจสอบสภาพโดยทั่วไปเพื่อติดตามผลการปฏิบัติงานครั้งที่แล้วว่าอุปกรณ์ยังอยู่ในสภาพปกติหรือไม่หรือมีความเสียหายเกิดขึ้นเพิ่มเติม และตรวจสอบว่าผู้ใช้เครนได้มีการปรับปรุงแก้ไขตามคำแนะนำของผู้ตรวจสอบหรือไม่ อย่างไร
- 2.2 Electrical Service คือ การตรวจสอบสภาพการทำงานของระบบไฟฟ้าทั้งหมดว่ามีสภาพใช้งานได้ปกติหรือไม่
- 2.3 Mechanical Service คือ การตรวจสอบการทำงานของระบบเครื่องกลทั้งหมดว่าอยู่ในสภาพใช้งานได้ปกติหรือไม่
- 2.4 Lubricating คือ การเคลือบสารหล่อลื่นให้แก่ชิ้นส่วนหรืออุปกรณ์ที่จำเป็น
- 2.5 Inspection คือ การตรวจสอบสภาพของตัวรอกและโครงสร้างด้วยเครื่องมือและการตรวจเช็คด้วยสายตา
- 2.6 Function Test คือ การทดสอบระบบปฏิบัติการของรอกและเครน ได้แก่ ทดสอบการขับเคลื่อน ระบบเบรกสวิทซ์กำหนดทิศทาง และระบบความปลอดภัยว่าอยู่ในสภาพใช้งานได้จริงหรือไม่
- นำข้อมูลที่ได้จากการเข้าปฏิบัติงานมาบันทึกลงในโปรแกรมคอมพิวเตอร์เพื่อจัดทำรายงานส่งให้ลูกค้า
- นำผลข้อมูลการวิเคราะห์มาจัดทำเป็นรายงาน ดังนี้
- 4.1 สรุปผลการตรวจสอบสภาพและซ่อมบำรุงรายการ 2.1-2.6
- 4.2 สรุปรายการความเสียหายหรือไม่ครบสมบูรณ์เพื่อเตรียมป้องกันการ Break Down
- 4.3 เสนอแนะแนวทางแก้ไขความเสียหายที่ตรวจพบโดยการซ่อมหรือปรับเปลี่ยนใหม่
- ทำการเปลี่ยนอะไหล่ในกรณีที่ไม่สามารถซ่อมหรือแก้ไขอุปกรณ์ที่เสียหายได้ และติดตั้งเพิ่มให้อุปกรณ์มีความครบสมบูรณ์
- ทำการเปลี่ยนอะไหล่ในกรณีที่ไม่สามารถซ่อมหรือแก้ไขอุปกรณ์ที่เสียหายได้ และติดตั้งเพิ่มให้อุปกรณ์มีความครบสมบูรณ์
- เมื่อเครนมีอายุการใช้งานยาวนานหรือเสียหายมากขึ้นและเริ่มไม่คุ้มกับค่าซ่อม เราขอเสนอให้ทำการ Upgrade อุปกรณ์ทดแทนที่เสื่อมสภาพหรือไม่มีอะไหล่รองรับเพื่อยืดอายุการใช้งานของรอกและเครนให้ยาวนานขึ้น โดยไม่จำเป็นต้องลงทุนซื้อเครนใหม่
สิ่งที่ลูกค้าจะได้รับหลังจากเสร็จสิ้นการตรวจสอบและซ่อมบำรุงเครนมีดังนี้
- เอกสารรับรองความปลอดภัย (ปจ.1) โดยวิศวกรวิชาชีพระดับสามัญ
- รายงานตรวจสอบและซ่อมบำรุงเครน (Check List)
- รายงานการตรวจพบความเสียหาย วิเคราะห์สาเหตุ วิธีแก้ไข (Warning List)
- การรับประกันงานตรวจสอบและซ่อมบำรุงตามระยะที่กำหนด (Warranty After Service)
การตรวจรอกเครน ป.จ.1
รายละเอียด :
การตรวจสอบตามแบบ ปจ. 1 คือ การตรวจสอบวัดค่าด้วยเครื่องมือมาตรฐานและสังเกตอาการด้วยสายตาและฟังเสียง และการทดสอบการใช้งานเบื้องต้นเพื่อตรวจสอบสภาพความผิดปกติตามหัวข้อในเอกสารแบบ ปจ.1 และลงนามโดยวิศวกรเป็นหลักฐานว่าได้ทำการตรวจสอบแล้วจริง สภาพความผ...
การซ่อมบำรุงเชิงป้องกัน
รายละเอียด :
การตรวจสอบและซ่อมบำรุง คือ การตรวจสอบวัดค่าด้วยเครื่องวัดมาตรฐานและสังเกตอาการด้วยสายตาและฟังเสียง และการทดสอบการใช้งานเบื้องต้นเพื่อตรวจสอบสภาพความผิดปกติตามหัวข้อในเอกสารรายการตรวจสอบอะไหล่และชิ้นส่วนของอุปกรณ์ประมาณ 100 รายการ ...